วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

เมื่อนักเขียนนิยายแนวฆาตกรรมคู่รัก ฆ่าสามีตัวเอง !


ช็อควงการนักเขียน 
เมื่อนักเขียนนิยายแนวฆาตกรรมสามี How to Murder Husband
ถูกดำเนินคดีข้อหาฆ่าสามีตัวเอง !

เป็นข่าวเขย่าวงการนักเขียนจริงๆ 
ใครจะคิดว่านักเขียนนิยายรักที่ดูเหมือนเขียนจากจินตนาการจะกลายเป็นเรื่องจริงได้

  แนนซี แครมป์ตัน โบรฟี่ (Nancy Crampton Brophy) เป็นนักเขียนที่มีผลงานโดดเด่นในแนวฆาตรกรรมคู่รัก นิยายของเธอมักจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ผิดแต่ไม่เคยรู้สึกว่าถูกต้อง หน้าปกนิยายรักมักจะเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยอก


   นิยายอีกเรื่องหนึ่งของเธอคือ “The Wrong Cop” เนื้อหายังคงเป็นแนวฆาตรกรรมคู่รัก เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งใช้เวลาแต่ละวันในชีวิตแต่งงานจินตนาการเรื่องการฆ่าสามีตัวเอง 


    ส่วนเรื่อง “The wrong Husband” ก็จะเป็นเรื่องของเมียที่พยายามหนีจากผัวปากร้ายโดยใช้วิธีสร้างเรื่องหลอกว่าตัวเองตาย 

  ที่พีคสุดๆ น่าจะเป็นบทความเรื่อง  “How to Murder Your Husband”  ออกแนวฆาตกรรมคู่รักสมบูรณ์แบบมาก เธอเขียนเรื่องวิธีการต่างๆ ที่จะหนีไปให้พ้น

   ข่าวจาก วอชิงตัน โพสต์ เล่าว่า เธอได้เคยเขียนในบล็อก “See Jane Publish เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011  โดยเล่าถึง 5 แรงจูงใจสำคัญและเหล่าสรรพอาวุธที่ตัวละครของเธอจะเลือกใช้เพื่อฆ่าสามี 

    โบรฟี่ไม่เห็นด้วยกับวิธีจ้างคนมาทำร้าย เพราะสุดท้ายแล้วคนพวกนี้ส่วนใหญ่จะวิ่งแจ้นไปบอกตำรวจเอง ส่วนวิธีให้ชู้รักไปฆ่าสามีก็ไม่ใช่ไอเดียที่ดี วางยาพิษก็ไม่ใช่คำแนะนำเพราะแกะรอยคนกระทำความผิดได้

ไม่มีใครคาดคิดว่าสุดท้ายแล้วเรื่องต่างๆ ที่แครมป์ตัน โบรฟี่ เคยเขียนทั้งบทความทั้งนิยายจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่องจริง แครมป์ตัน โบรฟี่ ในวัย 68 ปี ได้เลือกวิธีหนึ่งที่ไม่ได้แนะนำไว้ในหนังสือที่เธอเขียน 

เธอถูกจับข้อหาฆาตรกรรมสามี  เดเนียล โบรฟี่ โดยใช้อาวุธปืนยิงเขาจนเสียชีวิต และถูกศาลสั่งจำคุกโดยเธอไม่ได้ยื่นขอประกันตัว

นับเป็นนักเขียนที่เขียนจากความรู้สึกภายในอย่างแท้จริง ยิ่งเขียนมากก็เลยยิ่งกลายเป็นสิ่งตอกย้ำ จนสุดท้ายแล้วก็ตัดสินใจนำเรื่องที่เขียนมาทำให้เป็นจริงเสียเลย 

จากนักเขียนจึงกลายมาเป็นนักฆ่าในที่สุด

ลิงค์ข่าวที่น่าสนใจ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร นิยายขนาดสั้นที่ทำให้รู้ซึ้งถึงเบื้องหลังกองถ่ายละคร




นิยายขนาดสั้น
สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องเบื้องหลังกองถ่ายละคร



แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร เขียนโดย อรุณวดี กงลี่
      คนไทยชอบดูละครกันมาก แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่ากว่าจะออกมาเป็นละครที่เสร็จสมบูรณ์แต่ละเรื่อง เบื้องหลังกองละครนั้นเป็นอย่างไร

        "แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร" เป็นนิยายขนาดสั้นกะทัดรัด อ่านสนุกๆ ผลงานการเขียนของ อรุณวดี กงลี่ ที่เคยเป็นนักแสดงและอยู่ในกองถ่ายละครมานาน ทำให้การเล่าบรรยากาศในกองถ่ายเป็นไปอย่างสนุกสนานและมีรสชาติอย่างมาก ผู้อ่านจะนึกสนุกคาดเดานามแฝงบ้างไม่แฝงบ้างที่ปรากฎในเรื่องว่าเป็นใครกันบ้าง

      ตัวเอกของเรื่องคือ "ลินา" อดีตนางเอกดังที่ย้ายไปอยู่ลอนดอน เผอิญกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเมืองไทยชั่วคราว และบังเอิญอีกนั่นแหละที่ต้องรับเล่นละคร ทำให้เจอทั้งดาราเพื่อนเก่าที่ทั้งถูกกันและดาราที่ไม่ถูกกัน ที่สำคัญทำให้ได้รู้จักและมีความสัมพันธ์กับพระเอกหล่อสุดขีดรุ่นน้องอย่าง "กัม" กัมปนาท ความสัมพันธ์ที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ไม่ให้นักข่าวหรือคนในวงการรู้ และเป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่ตัวเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียกความรักดีหรือไม่ จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร

     การเล่าเรื่องความรักผ่านการทำงานในกองละคร ผู้อ่านจะได้รู้ลึกถึงบรรยากาศเบื้องหลังการถ่ายละครในรายละเอียดที่หาอ่านที่ไหนไม่ได้ ทั้งดาราขี้เหวี่ยง ขี้วีน เรื่องเยอะ มาสาย จำบทไม่ได้ ช่างแต่งตัว ช่างแต่งหน้า เป็นงานเขียนที่ลงลึกรายละเอียดต่างๆ ที่อ่านแล้วสร้างความเฮฮาสนุกบันเทิงมาก

    หมายเหตุ "แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร" อรุณวีด กงลี่ เล่าผ่านบรรยากาศการประท้วงของเหล่านกหวีด กปปส. ที่ยึดกรุุงเทพฯ ทำให้เห็นความคิดต่างของคนในวงการบันเทิงที่มีทั้งสองฝ่ายอีกด้วย

    ใครที่ชอบดูละครและอยากรู้เบื้องลึกกองละคร นิยายขนาดสั้นที่สนุกเฮฮาเล่มนี้น่าจะเหมาะกับคุณ ด้วยความหนา 150 หน้า ทำให้อ่านง่าย อ่านเร็ว 

 "แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร" 
ผลงานของ อรุณวดี กงลี่ 
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อ่าน ราคาเล่มละ 180 บาท 



วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

โฉมหน้า 8 เล่มเข้ารอบซีไรต์ปี 2561 ทายกันซิ..เล่มไหนจะได้รางวัล



โฉมหน้ารายชื่อ 8 หนังสือผ่านเข้ารอบหนังสือซีไรต์ประจำปี 2561
 
1.พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ 

โดย วีรพร นิติประภา คงจำได้ว่า วีรพร เคยได้ซีไรต์มาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2558 จากเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต ในปีนี้เรามาลุ้นกันว่าจะมีปรากฎการณ์  “เบิ้ลซีไรต์” เหมือนอย่างที่ชาติ กอบจิตติ เคยทำมาแล้ว ในปี 2525 ได้ซีไรต์จากเรื่องคำพิพากษา และตามมากวาดซีไรต์รอบสองในปี 2537 จากเรื่องเวลา ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ รอลุ้นกันได้












2.หยดน้ำหวานในหยาดน้ำตา
ผลงานของ อุรุดา โควินท์  เป็นนักเขียนหญิงที่มาแรงอีกคนหนึ่งในพ.ศ.นี้ อุรุดาคือคนรักของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนซีไรต์ผู้ล่วงลับไปแล้ว ในเล่มนี้จะเป็นเรื่องราวที่เธอเล่าถึงกนกพงศ์อันเป็นที่รัก แนวเขียนเนื้อเรื่องออกแนว based on true story แต่ด้วยสำนวนภาษาและการเล่าเรื่อง ก็ทำให้เป็นหนังสือที่น่าอ่านและน่าสนใจเล่มหนึ่ง นี่คือตัวเก็งซีไรต์อีกคนหนึ่งในปีนี้


3. เกาะล่องหน ของ เกริก โดย เกริกศิษฏ์ พละมาตร์
4.คนในนิทาน โดย กร ศิริวัฒโณ

5. ในกับดักและกลางวงล้อม 
ผลงาน ประชาคม ลุนาชัย เป็นเรื่องราวของเหล่าลูกเรือประมงที่มาจากต่างที่ต่างทิศ แต่ต้องไปลงเรือประมงลำเดียวกันเพื่อเผชิญชีวิตและโชคชะตากลางทะเล อ่านแล้วรู้สึกได้ว่าฉากและบรรยากาศสมจริงมาก คงเป็นเพราะประชาคมกลั่นจากประสบการณ์ชีวิตจริง หากย้อนดูจะพบว่าหนังสือของประชาคมเข้ารอบซีไรต์หลายครั้งมาก มาช่วยกันลุ้นว่าปีนี้เขาจะถึงฝั่งฝันซีไรต์ได้หรือไม่













6.บ้านในโคลน 
ผลงานของ กิตติศักดิ์ คเชนทร์




















7.ผุดเกิดมาลาร่ำ 

ผลงานของ อารยา ราษฏร์จำเริญสุข เราอาจคุ้นชื่อเธอจากผลงานศิลปะ และนี่อาจจะเป็นศิลปินหญิงมือรางวัลคนแรกที่เก่งทั้งวาดภาพและเขียนหนังสือ

















8. อีกไม่นานเราจะสูญหาย



โดย อ้อมแก้ว กัลยาณพงศ์ แค่เห็นนามสกุลเราก็รู้แล้วว่าชื่อชั้นของนักเขียนคนนี้ไม่ธรรมดา ส่วนอ้อมแก้วจะฝ่าฟันนักเขียนรุ่นพี่ไปได้หรือไม่ ต้องคอยติดตามกันต่อไป

    













 กว่าจะเขียนหนังสือดีๆ ได้สักเล่มไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย นักเขียนทุกคนล้วนต้องทุ่มเทและใช้เวลากันนานเป็นปีกว่าจะสำเร็จสมความตั้งใจ เราขอเป็นกำลังใจให้นักเขียนที่เข้ารอบชิงซีไรต์ทุกๆ ท่านสมหวังดั่งที่ตั้งใจ ส่วนเล่มไหนจะได้รางวัลซีไรต์เราจะมารายงานให้ทราบต่อไป